บทความทั่วไป

เทรนด์เทคโนโลยีโดรนอุตสาหกรรม ปี 2025

การประยุกต์ใช้โดรนในภาคอุตสาหกรรม

ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดรนสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย และช่วยประหยัดทั้งงบประมาณ และเวลา ไปจนถึงทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมาก สามารถทำงานขนาดใหญ่ได้โดยใช้คนเพียงไม่กี่คน งานอุตสาหกรรมใดบ้างที่สามารถใช้โดรนในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

1. การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์

ในงานบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ เป็นอีกหนึ่งลักษณะงานที่ได้รับความนิยมอย่างมา

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพราะช่วยประหยัดเวลาในการตรวจสอบ และสามารถเฝ้าระวังก่อนเกิดเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างทันท่วงที

ในลักษณะงานแบบนี้ โดรนถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน และมักจะใช้โดรนที่มีกล้องความร้อน เพื่อการทำงานเฉพาะตัว เช่น DJI Mavic 3 Termal หรือ DJI Matrice 350 RTK เป็นต้น

การใช้โดรนอุตสาหกรรมในการทำงานเชิงคาดการณ์ จะช่วยให้คาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า จะช่วยทำให้ค่าใช้จ่ายในองค์กรลดลงในการบำรุงรักษา และช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ หากมีการบำรุงรักษาได้อย่างทันท่วงที

2. การขนส่งและโลจิสติกส์

อุตสาหกรรมการขนส่ง เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามองในการขนส่งด้วยโดรน ซึ่งในปีที่ผ่านมา จะได้เริ่มเห็นการขนส่งด้วยโดรนกันบ้างแล้วในประเทศจีน และสามารถบินได้ไกลข้ามประเทศ ส่วนในประเทศไทยก็เริ่มมีการนำเข้ามาใช้ในธุรกิจนี้ ถึงแม้จะเป็นการบินได้ในระยะที่ไม่ไกลเท่าประเทศจีน ด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ

แบรนด์ DJI ก็ไม่พลาดกับลักษณะงานนี้เช่นกัน มีโดรนที่สามารถใช้ในการขนส่งทางอากาศได้อย่างโดรน DJI Flycart 30 รับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 30 กิโลกรัม และบินได้ไกลถึง 16 กิโลเมตรเมื่อบรรทุกสิ่งของ

ในปัจจุบันโดรนส่งสินค้า มีการนำมาใช้ในส่วนของการช่วยเหลือ เช่น ส่งถุงยังชีพ ส่งอาหารและยาต่างๆ ไปยังพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

3. การสำรวจและการทำแผนที่

งานเกี่ยวกับการทำแผนที่ เป็นอีกหนึ่งลักษณะงานที่ตอบโจทย์การใช้งานโดรนในการทำงานอย่างมาก ช่วยประหยัดเวลา

โดรนกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสำรวจและจัดทำแผนที่ ซึ่งช่วยในการประหยัดเวลา และเพิ่มความแม่นยำ เมื่อใช้คู่กับอุปกรณ์เสริมอย่าง GNSS เป็นตัวรับสัญญาณดาวเทียมนำทางทั่วโลก ช่วยให้การวางแผนและพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และโดรนที่เหมาะกับงานแผนที่ความละเอียดสูง ก็ต้องยกให้ตัว DJI Mavic 3E เป็นโดรน Enterprise ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเพียง 915 กรัม เท่านั้น และ อีกหนึ่งรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวมาใหม่ในเดือน มกราคา พ.ศ 2568 คือ DJI Matrice Series 4 ซึ่งตัวที่สามารถใช้ในงานแผนที่ได้ก็คือ รุ่น DJI Matrice 4E ตัวนี้จะสามารถบรรทุก Payload เพิ่มเติมได้ ทำให้ทำงานได้หลากหลายยิ่งขึ้น

4. การเกษตรสมัยใหม่

ตั้งแต่ปี 2024 ที่ผ่านมา เราอาจจะเริ่มเห็นเกษตรยุคใหม่หลายท่าน ที่เริ่มใช้โดรนเป็นตัวทุ่นแรงในการทำงาน และคาดว่าในปี 2025 นี้ ก็จะยิ่งเป็นที่นิยมมากขึ้น 

ในอุตสาหกรรมการเกษตร โดรนถูกนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย เช่น การพ่นยาฆ่าแแมลง การปฏิสนธิ การตรวจสอบพืชผล และการประเมินผลผลิต

5. การดับเพลิง และกู้ภัย

ในงานการดับเพลิง และงานกู้ภัย โดรน ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการ ด้วยความคล่องตัวและความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้โดรนสามารถช่วยเหลือในการปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการใช้โดรนในงานดับเพลิงและกู้ภัย

  • สำรวจพื้นที่เกิดเหตุ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโดรนกล้องความร้อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับขนาดของไฟ
  • ติดตามการลุกลามของไฟ สามารถตรวจจับจุดร้อนและติดตามการลุกลามของไฟได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้เจ้าหน้าที่วางแผนการดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ค้นหาผู้สูญหาย โดรนสามารถติดตั้งกล้องที่มีความละเอียดสูง เพื่อค้นหาผู้ที่สูญหายในซากปรักหักพัง หรือในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก
  • ลดความเสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ การใช้โดรนช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เนื่องจากโดรนสามารถเข้าถึงพื้นที่ที่อันตรายได้แทนที่มนุษย์

6. การก่อสร้าง

ในงานก่อสร้าง ก็ถือเป็นอีกลักษณะงานที่เริ่มมีการนำโดรนมาใช้เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการตรวจสอบความคืบหน้าการก่อสร้างของโครงการ และยังสามารถช่วยตรวจสอบพื้นที่ก่อนก่อสร้างภายในระยะเวลาสั้นๆ ประหยัดทั้งทรัพยากรมนุษย์ และเวลาการทำงาน