เทคนิค

ทำความรู้จัก โดรนทั้ง 11 ประเภทและความต่างของรูปแบบการนำไปใช้งาน

เกร็ดความรู้เรื่องโดรน กับ DJI13Store ในวันนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับประเภทต่างๆ ของโดรน ว่านอกจากโดรนถ่ายภาพที่เราๆ คุ้นเคยกันนั้น จริงๆ แล้วยังมีโดรนอะไรอย่างอื่นอีกบ้างและแต่ละประเภทมีรูปแบบการใช้งานอย่างไรครับ

 

โดรน หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle)

เคยเป็นเครื่องมือที่มีไว้ใช้ในการทหารเพื่อการสอดแนมข้าศึก แต่ปัจจุบันโดรนอนุญาติให้ใช้งานในบุคคลทั่วไปและถูกใช้งานในหลากหลายรูปแบบ โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 11 ประเภทตามการใช้งานนั้นๆ

 

1. Quadcopter

โดรนรูปแบบ 4 ใบพัดที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันมากที่สุด เพราะเป็นแบบมาตรฐานสำหรับโดรนถ่ายภาพที่เราใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบัน จุดเด่นอยู่ที่ใบพัดซึ่งติดอยู่บนมุมทั้ง 4 ของตัวโดรน ช่วยเพิ่มแรงซัพพอร์ตทำให้ take off ออกตัวและเลี้ยวไปในทิศทางต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ควบคุมง่าย มีพื้นที่กลางลำให้ติดกล้อง HD ตัวเล็กๆ ได้ อย่างเช่นโดรนซีรี่ย์ Phantom, Mavic และ inspire

 

2. GPS Drone

โดรนประเภทนี้จะติดตั้งระบบ GPS เอาไว้ สำหรับใช้ประโยชน์กับสถานการณ์ต่างๆ อย่างเช่นการตั้งพิกัดเพื่อบินอัตโนมัติสำหรับโดรนการเกษตร การวัดระยะทาง วัดพื้นที่ หรือเวลาที่โดรนถูกพัดหายไปก็สามารถตามหาจากพิกัด GPS โดยใช้สัญญาณของดาวเทียมได้

 

3. RTF Drone( Ready to Fly Drone )

เป็นโดรนประเภทที่สามารถหยิบใช้งานได้ทันทีหลังจากที่ซื้อมา แค่หยิบมันออกมาจากกล่อง และชาร์ตแบตให้เต็ม ก็พร้อมใช้งานแล้ว โดยปกติโดรนประเภทนี้ เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาเล่นโดรน และยังเสมือนเป็น quadcopter ขนาดเล็กด้วย

 

4. Trick Drone

โดรนขนาดเล็กสำหรับฝึกบินทำทริคเล่นท่าง่ายๆ อย่างตีลังกาหรือหมุนควงกลางอากาศ โดยส่วนมากจะมีความกว้างไม่เกิน 5 เซนติเมตรและมีน้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมเท่านั้น บินง่าย เล่นง่าย เหมาะกับมือใหม่ใช้ฝึกบินอย่างมาก สามารถติดตั้งกล้องขนาดเล็กไว้ได้ แต่ก็ไม่ใช่โดรนที่เหมาะจะใช้ถ่ายภาพ

 

5. Helicopter Drone

เป็นโดรนประเภทที่ใช้ใบพัดขับเคลื่อนแค่อันเดียว คล้ายๆ กับเฮลิคอปเตอร์ จึงทำให้มีข้อดีตรงใช้พลังงานน้อย สามารถบินอยู่บนอากาศได้นานกว่าโดรนแบบ Quadcopter แต่ก็มีข้อเสียตรงที่การควบคุมทิศทางที่ค่อนข้างยากกว่า จึงไม่เหมาะกับมือใหม่เท่าไรนัก

 

6. Delivery Drone

โดรนสำหรับขนส่งสิ่งของโดยเฉพาะ โดยขนาดและรูปทรงของโดรนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสิ่งของและระยะทางที่ส่ง แต่สิ่งที่ทุกลำต้องมีเหมือนกันและขาดไม่ได้เลยสำหรับโดรนประเภทนี้ก็คือ สมอเทียบท่า หรือส่วนที่มีคุณสมบัติคล้ายกับตะกร้าตรงด้านล่างของโดรนเพื่อบรรจุสิ่งของและส่งได้อย่างรวดเร็ว

 

7. โดรนสำหรับถ่ายภาพ

เป็นโดรนชนิดที่จะมาพร้อมกล้อง HD ความละเอียดสูง สามารถถ่ายภาพ/ ถ่ายวีดีโอจากระยะไกลได้อย่างคมชัด บ้างรุ่นอาจมี Gimbal แกนกันสั่นเพื่อให้ได้ภาพที่นิ่งมากขึ้นด้วย ตัวรีโมทมีปุ่มสำหรับควบคุมกล้องและสั่งงานถ่ายภาพได้ พร้อมจอแสดงภาพในกล้องแบบเรียลไทม์ หรืออาจใช้การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ผ่าน Wi-Fi แทนก็ได้เช่นกัน

 

8. โดรนสำหรับแข่ง

โดรนแข่งได้รับการออกแบบให้ใช้เพื่อการแข่งขัน ถูกปรับแต่งให้สามารถเคลื่อนที่เปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็ว ใช้สัญญาณควบคุมหลายคลื่นความถี่ เพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อระหว่างโดรนกับตัวควบคุมจะไม่มีการรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ มีโครงสร้างที่เบาบาง และไม่ได้รับผลกระทบจากลม ปัจจุบันนิยมใช้ร่วมกับแว่น VR เพื่อการความคุมที่แม่นยำขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

 

9. โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน

เป็นโดรนที่ใช้พลังงานน้ำมันแทนการใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้า ข้อดีคือบินได้นานและไม่ต้องรอชาร์จไฟใหม่นานๆ ข้อเสียคือเป็นโดรนที่มีน้ำหนักมาก มีการเตรียมใช้งานที่ซับซ้อน และต้องคอยตรวจสอบน้ำมันเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการตกในขณะที่บิน

 

10. โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมันไนโตร

คล้ายกับโดรนที่ใช้น้ำมัน แต่เปลี่ยนเป็นใช้น้ำมันไนโตรโดรนแทน ซึ่งทำให้มีกำลังขับเคลื่อนที่มากกว่า น้ำหนักเบากว่า แต่ก็อาจมีปัญหาในการหาแหล่งเชื้อเพลิง และน้ำมันไนโตรเจนมีราคาค่อนข้างแพง

 

11. โดรนแบบบินได้นาน

โดรนแบบบินได้นานนั้นจะมีขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อบินให้นานที่สุด โดรนชนิดนี้สามารถบินสูงได้หลายพันฟุตและสามารถทำงานได้หลายชั่วโมงต่อครั้งและมักจะใช้สำหรับการเฝ้าระวังและความต้องการทางทหาร โดรนเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้โดยรัฐบาลและทหารเพราะใช้สำหรับการใช้งานเกินกว่าเกณฑ์ความสูง 400 ฟุต ซึ่งผู้ดำเนินการต้องได้รับใบอนุญาตเพื่อใช้งานโดรนชนิดนี้