แชร์ประสบการณ์ถ่าย Cinematic Footage ใต้น้ำ ด้วย Osmo Action

ในบทความนี้เป็นเรื่องราวของหนุ่มน้อยผู้หลงรักการถ่ายภาพใต้น้ำ โดยเขาเริ่มต้นถ่ายภาพแนวนี้ครั้งแรกในปี 2015

ตอนนั้นยังมีประสบการณ์ค่อนข้างน้อย รวมถึงผลงานภาพวีดีโอที่สร้างสรรค์ออกมาก็ยังมีไม่มากนัก จนกระทั่งได้เจอกับเพื่อนร่วมทางเจ๋งๆอย่าง Osmo Action

ด้วยประสิทธิภาพของกล้องและอุปกรณ์กันน้ำ รวมถึงความสามารถในการพกพาที่ยอดเยี่ยม หนุ่มน้อยคนนี้จึงออกมาแชร์เรื่องราวการถ่ายวีดีโอใต้น้ำกับ Osmo Action ให้ฟังกัน มาชมไปพร้อมๆกันเลย

 

Underwater Footage2

 

การควบคุมกล้องของ Osmo Action

1.หน้าจอคู่ สลับหน้า-หลังง่ายๆ

หน้าจอคู่ เป็นฟีเจอร์ที่เขาชอบมากๆ เราสามารถสลับหน้าจอหน้า-หลังได้อย่างรวดเร็ว มันมีประโยชน์มากในการหามุมมองใหม่ๆ ขณะถ่าย

มีสามวิธีในการสลับหน้าจอ 1.ใช้สองนิ้วแตะที่หน้าจอด้านหลังสองครั้ง 2.กดปุ่ม QS ค้างไว้ 3.ใช้การสั่งงานด้วยเสียง โดยปกติแล้วเขาจะใช้วิธีกดปุ่ม QS บ่อยที่สุด

 

2.วีดีโอคมชัดด้วยโหมด HDR 

ในสภาพที่แสงน้อยให้ใช้ โหมด HDR วีดีโอของดราจะมีความคมชัดมากขึ้นด้วยความระเอียด 30/fps แต่ระหว่างนั้นจะไม่สามารถใช้ RockSteady ได้

 

3. โหมดการถ่ายภาพที่หลากหลาย

ขณะดำน้ำสามารถกดปุ่ม QS ที่ด้านข้างของกล้อง เพื่อสลับโหมดการถ่ายภาพต่างๆ อย่างรวดเร็วได้ เช่น วีดีโอ, ภาพถ่าย, HDR, Slow Motion รวมถึงสามารถกำหนดบันทึกการตั้งค่าเฉพาะตัวได้ด้วย

 

Underwater Footage3

 

การเตรียมกล้องและอุปกรณ์เสริม

1.อัพเกรดเฟิร์มแวร์

คืนก่อนออกไปถ่ายทำ เขาจะเชื่อมต่อ Osmo Action กับ DJI Mimo เพื่อตรวจสอบว่าเฟิร์มแวร์ของเขาเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ อย่างเช่นในครั้งล่าสุด มีการอัพเดตโหมด Hyperlapse เข้ามา ทำให้ไม่พลาดฟังก์ชั่นใหม่ๆ สำหรับการถ่ายทำในวันพรุ่งนี้

 

2.เตรียม Battery ให้พร้อม

ชาร์จแบต Osmo Action ให้พร้อมก่อนออกไปถ่ายทำ และยังสามารถชาร์จด้วย Power bank ได้ทุกที่ แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องใส่แบตถูกล็อคดีแล้วโดยไม่มีแถบสีส้มแสดง มิฉะนั้นน้ำอาจเข้าสู่ช่องใส่แบตเตอรี่ได้

 

3.ฟอร์แมต memory card

อย่าลืมฟอร์แมต memory card ใน Osmo Action อันนี้สำคัญมาก ส่วนการ์ดที่หนุ่มน้อยคนนี้แนะนำจะเป็น "TF U3 SanDisk" SanDisk จะเป็นตัวเลือกแรกของเขาเสมอไม่ว่าจะใช้กับอุปกรณ์ใด

 

4.เตรียมเคสกันน้ำ

Osmo Action กันน้ำได้ลึก 11 เมตร หากคุณต้องการดำลงไปลึกกว่านั้น แนะนำให้ใช้ "เคสกันน้ำและ anti-fog เฉพาะ" เพื่อให้สามารถถ่ายใต้น้ำลึกสูงสุด 60 เมตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วอย่าลืมทำความสะอาดเคสกันน้ำทั้งด้านนอกและด้วนใน รวมถึงเช็คให้แน่ชัดว่าไม่มีสิ่งสกปรกบริเวณแหวนซีล

 

Underwater Footage4

 

5 . ที่จับลอยน้ำ

Osmo Action จะหนักขึ้นขณะใส่เคสกันน้ำ จึงเป็นความคิดที่ดีที่จะใช้ " ที่จับลอยน้ำ " ป้องกันไม่ให้ Osmo Action จมลงทะเล

 

6.ก้านต่อขยาย

ไม้เซลฟี่ช่วยให้คุณมองเห็นองค์ประกอบภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเราสามารถเลือกใช้ก้านต่อขยายเฉพาะของ DJI Osmo เพื่อช่วยในการถ่ายภาพได้

 

Underwater Footage5

 

Setup Osmo Action ก่อนลงน้ำ

1. วิธีการใช้เคสกันน้ำ Osmo Action

ก่อนที่จะใช้เคสกันน้ำ Osmo Action:

๐ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเลนส์สะอาดก่อนที่จะใส่ Osmo Action ลงในเคส

๐ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสลักปลดแบตเตอรี่ถูกล็อคอย่างเหมาะสม

๐ หลังจากติดตั้งกล้องเข้ากับเคสกันน้ำให้ใส่แผ่น anti-fog ระหว่างปุ่มเปิดปิดและปุ่มชัตเตอร์ / บันทึกของกล้อง

๐ หลังจากล็อคฝาหลังของเคสแล้วให้รีสตาร์ทกล้องและเช็คว่าทุกปุ่มทำงานได้อย่างสมบูรณ์ก่อนดำน้ำ

 

2.การตั้งค่ากล้อง

หากคุณเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์ด้าน post-processing ผมขอแนะนำให้คุณใช้การตั้งค่าดังต่อไปนี้ :

๐ กำหนดอัตราเฟรมเป็น 4K / 60fps เปิดใช้งาน RockSteady และเลือก D-Cinelike การตั้งค่าลักษณะนี้จะทำให้ footage 4k ของคุณงานต่อการ post-processing

 

สำหรับผู้ที่แก้ไขวีดีโอบนสมาทโฟน แนะนำให้คุณใช้การตั้งค่าดังต่อไปนี้ :

 

๐ ตั้งค่ากล้องเป็น 1080p / 24fps เปิดใช้งาน RockSteady และตั้งโหมดสีเป็น Normal การตั้งค่าลักษณะนี้จะทำให้คุณได้ footage 1080p ซึ่งเหมาะสำหรับอัพลงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

 

3. การตั้งค่าอื่น ๆ

๐ ตั้งค่าความสว่างของหน้าจอเป็นระดับสูงสุด

๐ ปิดใช้งานการล็อกหน้าจออัตโนมัติ

๐ ตั้งค่า white balance เป็น Underwater AWB

๐ เปิด Grid

 

Underwater Footage6

 

Shooting Guide - ถ่ายแบบไหนให้ได้ภาพเจ๋งๆ

การจัดองค์ประกอบภาพเป็นเทคนิคที่สำคัญมากขณะใช้ Osmo Action โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณอยู่ใต้น้ำซึ่งไม่สามารถจัดกรอบรูปภาพได้ ดังนั้นในส่วนนี้จะพูดถึงเทคนิคเจ็งๆในการถ่ายภาพให้สวยโดนใจ

 

ในการบันทึกวิดีโอใต้น้ำที่สวยงามโดยใช้แสงธรรมชาติ คุณต้องเข้าใจคุณสมบัติของเลนส์ก่อน Osmo Action มีเลนส์มุมกว้างที่มี FOV 145 และรูรับแสง f / 2.8 ซึ่งหมายความว่าสามารถจับรายละเอียดได้มากขึ้นในระยะใกล้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการจัดเฟรมหรือองค์ประกอบภาพ เนื่องจากเลนส์จะบันทึกเนื้อหาได้มากเท่าที่เราต้องการ

 

แนวคิดพื้นฐานคือการรู้ตำแหน่งของวัตถุและองค์ประกอบภาพก่อนที่จะเริ่มถ่าย สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมากเมื่อคุณพยายามจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว อย่างเช่นนักดำน้ำ ลองดำลงไปและวางแผนการถ่ายล่วงหน้าก่อน จากนั้นค่อยเริ่มถ่ายจริงตามแผนที่คุณได้ไว้ อีกเทคนิคคือขณะถ่ายวิดีโอใต้น้ำ พยายามจับภาพมุมกว้าง เพื่อให้ได้แสงธรรมชาติจากผิวน้ำ ทำให้ภาพของเรามีคุณภาพมากขึ้น

 

Underwater Footage7

 

ภาพถ่ายและวีดีโอของนักดำน้ำส่วนใหญ่จะมีแต่สีเขียวและน้ำเงิน นี่เป็นเพราะในน้ำที่ลึกกว่า 10 เมตร แสงสีแดงจะดูกกลืนไปกับน้ำทะเล หากไม่มีสีแดงภาพจะมีแต่สีเขียวและสีน้ำเงินเท่านั้น นั้นคือเหตุผลว่าทำไมเทคนิคการใช้แสงถึงสำคัญมากสำหรับการถ่ายภาพและวีดีโอใต้น้ำ ลองถ่ายภาพที่ระดับความลึก 3-5 เมตร ซึ่งเป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับแสงใต้น้ำ 

 

พยายามใช้ frame rate ไม่น้อยกว่า 60fps เนื่องจากความสันไหวซึ่งเกิดจากกระแสน้ำสามารถเกิดขึ้นได้แม้ขณะเปิดใช้งาน RockSteady แล้วด้วยเฟรมเรต 60fps หรือสูงกว่าอย่าง 1080p / 120fps และ 1080p / 240fps เราสามารถถ่าย slow-motion หรือ high-speed motion ได้ด้วย

 

และนั้นคือประสบการณ์และการแนะนำ เกี่ยวกับ Osmo Action ทั้งหมด ที่หนุ่มน้อยคนนี้ได้นำมาแชร์กัน มีประโยชน์และน่าสนใจมากเลยจริงๆ ว่าแล้วก็อย่าลืมนำทริคดีๆนี้ไปลองใช้กันนะครับ

 

Underwater Footage8

 

 


 

Osmo Action ราคา 12,000 บาทเท่านั้น

 

DJI-Osmo-Action

 


แปลและเรียบเรียงโดย : DJI13STORE